การชุมนุมอาหรับสปริงครบ 7 ปี

ผู้คนกว่าหลายร้อยคนพากันไปเดินตามถนนในกรุงตูนิสเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นวันครบรอบที่ 7 ของอาหรับสปริง ผู้ประท้วงเดินขบวนประท้วงต่อความยากจนและการว่างงาน ในระหว่างที่เดินขบวนก็พร้อมใจตะโกนดังไปทั่วว่า “งาน เสรีภาพ ศักดิ์ศรี” คำขวัญคล้ายๆ กับที่อาจจะได้ยินทั่วประเทศในช่วงเวลาที่ประธาน Zine El Abidine Ben Ali ถูกล้มจากตำแหน่ง โดยทางรัฐบาลก็ได้พยายามที่จะหาข้อสรุปในการช่วยเหลือประชาชนในเรื่องของความยากจน ซึ่งเป็นปัญหาที่เริ่มรุนแรงขึ้นตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมเป็นต้นมา หลังจากที่มีอัตราว่างงานเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความไม่พอใจไปทั่วประเทศ ส่งผลให้มีประชาชนลุกขึ้นมาประท้วงอีกครั้ง

การประท้วงครั้งนี้ดำเนินไปด้วยความวุ่นวาย ผู้ประท้วงเริ่มใช้ความรุนแรงด้วยการทำลายข้าวของ โดยเฉพาะอาคารของรัฐบาลทำให้ตำรวจต้องเข้าจับกุมผู้เกี่ยวข้องกว่า 800 คนในที่เกิเหตุ ในขณะที่การประท้วงดำเนินไปทั่วประเทศอย่างน้อย 10 เมือง โดยการชุมนุมวันที่ 14 มกราคม ถือเป็นวันครบรอบที่ 7 ของการประท้วงอาหรับปริงครั้งแรกเมื่อ 14 มกราคม 2554 เพื่อการขับไล่ประธานาธิบดีซีน อัล-อะบิดีน เบน อาลี ซึ่งดำรงตำแหน่งบริหารบ้านเมืองมานานกว่า 20 ปี แต่เศรษฐกิจของประเทศกลับแย่ลง ประชาชนยากจนและลำบากขึ้นเพราะข้าวของที่แพงจนเป็นผลให้เกิดความไม่พอใจไปทั่วประเทศ และกลายเป็นการประท้วงจนเกิดเป็นการปฎิวัติต่อมาในภายหลัง

Arab-Spring

หลังจากที่ผู้ประท้วงเริ่มแสดงความรุนแรงต่อทรัพสินของรัฐบาล ทำให้ทางรัฐบาลต้องส่งกำลังทหารมาควบคุมดูแลอาคารสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะธนาคาร และอาคารกลางรัฐบาล รวมถึงเมืองสำคัญต่างๆ ที่มีนักท่องเที่ยวชุกชุม เนื่องจากการเข้าสลายการชุมนุมครั้งล่าสุดทำให้ผู้ประท้วงเกิดความไม่พอใจ และมีท่าทีที่จะใช้ความรุนแรงมากขึ้นต่อไป โดยตำรวจและทหารต่างมาพร้อมอุปกรณ์ครบมือพร้อมสำหรับการสลายชุมนุม รวมถึงการใช้ระเบิดแสง และแก๊สน้ำตาเมื่อถึงสถานการณ์ขั้นวิกฤติจริงๆ ในขณะที่ทางรัฐบาลพยายามใช้ข้อเสนอเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ยากไร้กว่า 2 แสนครอบครัว ด้วยการเพิ่มเงินช่วยเหลือเพิ่มอีก 2 พันบาท รวมถึงจะมีการพูดคุยเรื่องค่าแรงขั้นต่ำใหม่ที่ภายในตูนิเชีย

ถึงแม้ว่าตูนิเชียจะถูกชาวโลกมองว่าเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตย แต่บางครั้งอาจพบได้ว่ามันเป็นประชาธิปไตยที่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากรัฐบาลทั้งหมดที่เคยบริหารงานภายในตูนิเชีย ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาในประเทศให้กลับมาดีขึ้นได้ โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจพื้นฐาน ทำให้เกิดความไม่พอใจทั่วไปประเทศ แถมยังมีการโจมตีจากผู้ไม่หวังดีหลายครั้งจนทำให้นักลงทุนหนีหายกันไปหมด ถือเป็นประเทศที่เคราะห์ซ้ำกรรมซัดจริงๆ

admin